กระทรวงไอซีที มั่นใจการประมูลคลื่นความถี่ 4G จะเกิดขึ้นทันเดือนสิงหาคมนี้ และพร้อมร่วมมือกับ กสทช. เดินหน้าแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประมูล...
นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวในงานเสวนาดิจิตอล อีโคโนมีกับอนาคตประเทศไทย โดยระบุว่า การประมูลคลื่นความถี่ 4G จะเกิดขึ้นทันเดือนสิงหาคมนี้ แต่ต้องเริ่มจากการแก้กฎหมายให้เสร็จก่อน โดยกระทรวงไอซีที พร้อมจะร่วมทีมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เดินหน้าประมูล และมั่นใจว่าหาก กสทช. ประกาศกติกาออกมา รัฐและเอกชน พร้อมเข้าร่วมการประมูลแน่นอน
"มั่นใจว่าน่าจะมีโอกาสสูงมากถ้าเราได้รับความอนุเคราะห์จากรัฐบาล กฎกติกาไหนในอดีตที่มันเคยเดินไม่ได้หรือติดล็อก มั่นใจว่าต้องดำเนินการได้ในคราวนี้" ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าว
นายอานนท์ ทับเที่ยง ประธานสาขาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคมและบรอดคาสติ้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. กล่าวว่า หากไม่มี 4G จะเกิดผลกระทบกับผู้ให้บริการมือถือทั้ง 3 ราย รายที่เป็นกังวลที่สุด คือ เอไอเอส เพราะถ้าไม่มีการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จะหมด ก.ย.นี้ ขณะที่คู่แข่งอย่างดีแทคและทรู ยังมีอีก 2 คลื่น เอไอเอสเหลือคลื่นเดียว ก็จะมีผลต่อเอไอเอสเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับความคืบหน้าในการจัดประมูลล่าสุด มีรายงานว่า สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือถึงทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการนำคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์มาประมูล 4จี อาจไม่เหมาะเนื่องจากทางเทคนิคมีประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลด้านเสียงต่ำ นอกจากนี้อุปกรณ์เครื่องลูกข่ายรองรับการใช้งานในย่านความถี่นี้ยังมีน้อยมาก
ส่วนการเดินหน้าเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล ประธานสาขาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคมฯ มจธ. มองว่า ต้องอาศัยความร่วมมือ 4 ส่วน ได้แก่ รัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย และสังคม จากการศึกษาของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือไอทียู พบว่า การเพิ่มบรอดแบนด์ ร้อยละ 10 จะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.38 ขณะที่มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมไอซีทีจะเพิ่มขึ้นด้วย เดิมอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่า 7 แสนล้านบาท จากด้านโทรคมนาคม 5 แสนล้านบาท และซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ 2 แสนล้านบาท.
นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวในงานเสวนาดิจิตอล อีโคโนมีกับอนาคตประเทศไทย โดยระบุว่า การประมูลคลื่นความถี่ 4G จะเกิดขึ้นทันเดือนสิงหาคมนี้ แต่ต้องเริ่มจากการแก้กฎหมายให้เสร็จก่อน โดยกระทรวงไอซีที พร้อมจะร่วมทีมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เดินหน้าประมูล และมั่นใจว่าหาก กสทช. ประกาศกติกาออกมา รัฐและเอกชน พร้อมเข้าร่วมการประมูลแน่นอน
"มั่นใจว่าน่าจะมีโอกาสสูงมากถ้าเราได้รับความอนุเคราะห์จากรัฐบาล กฎกติกาไหนในอดีตที่มันเคยเดินไม่ได้หรือติดล็อก มั่นใจว่าต้องดำเนินการได้ในคราวนี้" ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าว
นายอานนท์ ทับเที่ยง ประธานสาขาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคมและบรอดคาสติ้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. กล่าวว่า หากไม่มี 4G จะเกิดผลกระทบกับผู้ให้บริการมือถือทั้ง 3 ราย รายที่เป็นกังวลที่สุด คือ เอไอเอส เพราะถ้าไม่มีการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จะหมด ก.ย.นี้ ขณะที่คู่แข่งอย่างดีแทคและทรู ยังมีอีก 2 คลื่น เอไอเอสเหลือคลื่นเดียว ก็จะมีผลต่อเอไอเอสเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับความคืบหน้าในการจัดประมูลล่าสุด มีรายงานว่า สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือถึงทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการนำคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์มาประมูล 4จี อาจไม่เหมาะเนื่องจากทางเทคนิคมีประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลด้านเสียงต่ำ นอกจากนี้อุปกรณ์เครื่องลูกข่ายรองรับการใช้งานในย่านความถี่นี้ยังมีน้อยมาก
ส่วนการเดินหน้าเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล ประธานสาขาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคมฯ มจธ. มองว่า ต้องอาศัยความร่วมมือ 4 ส่วน ได้แก่ รัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย และสังคม จากการศึกษาของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือไอทียู พบว่า การเพิ่มบรอดแบนด์ ร้อยละ 10 จะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.38 ขณะที่มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมไอซีทีจะเพิ่มขึ้นด้วย เดิมอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่า 7 แสนล้านบาท จากด้านโทรคมนาคม 5 แสนล้านบาท และซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ 2 แสนล้านบาท.
0 comments:
Post a Comment