Home » » วงสัมมนาชี้ อุปสรรคปฏิรูปศึกษา อยู่ที่โครงสร้างระบบทุนนิยม

วงสัมมนาชี้ อุปสรรคปฏิรูปศึกษา อยู่ที่โครงสร้างระบบทุนนิยม

Written By Unknown on Sunday, March 22, 20155:08:00 PM

วงสัมมนาปฏิรูปการศึกษา ชี้ว่าอุปสรรคอยู่ที่โครงสร้างของทุนนิยม แนะมองในเรื่องเชิงโครงสร้างทรัพยากรมนุษย์มากกว่ายึดระบบการศึกษา พร้อมเสนอให้ คกก. นโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ปฏิรูปการศึกษาเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ประเทศ...

วันที่ 21 มีนาคม วงสัมมนาและรับฟังความคิดเห็น เรื่อง 10 ประเด็นเด่นนวัตกรรม ครั้งที่ 9 โดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ร่วมกับสภาปฏิรูปประเทศไทย หรือ สปท. จัดสัมมนา ประเด็นการปฏิรูปการศึกษา

นางประภาภัทร นิยม เลขานุการคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สปช. กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาในเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการ และแนวทางพัฒนามนุษย์ ซึ่งต้องดำเนินควบคู่กัน หากเปรียบเทียบสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และฟินแลนด์ ที่ประสบความสำเร็จการปฏิรูปการศึกษา เพราะประเทศเหล่านั้น ยึดมิติของโครงสร้างมนุษย์เป็นสำคัญ 

ดังนั้น หากมองมิติใหม่ ใช้วิธีคิดแบบเดิมไม่มีทางทำเรื่องใหม่ได้ พร้อมเสนอให้เริ่มปฏิรูปการศึกษานอกกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจากผลวิจัยของทีดีอาร์ไอ พบว่าประเทศไทยใช้งบเรื่องการศึกษาสูงมาก แต่ผลลัพธ์ผู้เรียนต่ำมาก ทำให้เห็นความผิดเพี้ยนด้านทรัพยากร หากจะแก้ปัญหาดังกล่าวนอกกระทรวง ต้องมีคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ จะทำการปฏิรูปการศึกษาเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ประเทศ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้บรรจุไว้ในหมวดการปฏิรูปการศึกษาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ถ้าเป็นภาพรวมการศึกษาทั้งหมด แต่หากปฏิรูปผู้เรียนในระบบ 9 ล้านคน จะยกระดับประเทศไม่ทัน ดังนั้น ต้องปฏิรูปนอกระบบการศึกษา จนมาอยู่ในแรงงานให้ได้ผู้มีความรู้ที่มีคุณภาพเช่นกัน

ขณะที่ นายวิทยากร เชียงกูล คณบดีกิตติคุณวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่า ปัญหาสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาอยู่ที่โครงสร้างเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งเศรษฐกิจทุนนิยม จึงไม่สามารถพัฒนาการศึกษาได้ โดยส่วนตัวค่อนข้างไม่มีความหวังจะปฏิรูปได้ระยะสั้นต้องปฏิรูประยะยาว หากยังปฏิรูปไม่ได้การศึกษาก็จะตกต่ำ

ส่วนข้อเสนอให้มีซุปเปอร์การศึกษาแบบฮ่องกง เพราะมีคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา 4 คนทำงานเต็มเวลา โดยประสบการณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย มีการเปลี่ยนบ่อยและต้องการเอาใจครู จึงไม่ต้องการปฏิรูปการศึกษา พร้อมยกประเทศเวียดนามที่สามารถสอนให้เด็กเก่งวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพราะเป็นประเทศปฏิวัติ โดยครูสอนเด็กด้วยหัวใจไม่ใช่เป็นเพียงเรือจ้าง

ขณะที่ นายศรีราชา วงศารยางกูร ผู้ตรวจการแผ่นดิน ระบุว่า นักวิชาการของไทยไม่เป็นตัวของตัวเองทำให้เดินหลงทางมาตลอด แม้แต่ประชาธิปไตยก็ยังหาแก่นสารไม่ได้ โดยร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับไม่ประสบผลสำเร็จ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังสือแต่อยู่ที่จิตวิญญาณของคน โดยประเทศจะอยู่รอดได้ปัจจัยหนึ่ง คือเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องพัฒนาให้คนไทยเก่งขึ้นทุกด้าน และต้องปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ ต้องจัดระบบการศึกษาในทุกขั้นตอนตลอดชีวิต และอีกปัจจัยคือการจัดระบบการศึกษา โดยการศึกษายังเป็นเรื่องของพาณิชย์ และยกตัวอย่างการศึกษาอย่างสถาบันพระปกเกล้าเป็นระบบศึกษาที่หาคอนเนกชั่น ดังนั้น ต้องเลิกระบบการศึกษานี้ พร้อมเสนอให้มีการวิจัยทางการศึกษาหรือทีดีอาร์ไอการศึกษา และควรปรับระบบภาษีทุกระดับให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น โดยเสนอให้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ทำเรื่องปฏิรูปภาษี ไม่เช่นนั้นจะเสียของ และเสนอให้ยกเลิกการกวดวิชาทั่วประเทศ





0 comments:

Popular Posts